Pages

Thursday, September 10, 2020

คอลัมน์การเมือง - ดูหมิ่น ใส่ร้ายป้ายสีผู้อื่น พอถูกดำเนินคดี กลับมั่วว่าถูกคุกคาม - หนังสือพิมพ์แนวหน้า

tasisuper.blogspot.com

เหลือเชื่อ


หน้าไม่อาย

คนที่โพสต์ข้อความใส่ร้ายป้ายสีคนอื่น ด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จ แต่พอถูกดำเนินคดี กลับออกมาโอดครวญ ราวกับตนเองเป็นผู้เสียหาย อ้างว่าถูกคุกคาม ถูกกลั่นแกล้ง แต่ไม่ยอมกล่าวถึงข้อเท็จจริงว่า ตนเองไปโพสต์ข้อความอย่างไร ละเมิดคนอื่นอย่างไร กระทั่งถูกแจ้งความดำเนินคดี ถูกหมายเรียกจากตำรวจ

หากยืนยันว่า ตนเองพูดความจริง ก็เพียงนำหลักฐานไปต่อสู้คดีในชั้นศาล

แต่จะมามั่วนิ่ม อ้างว่าแค่คิดต่าง แค่ตรวจสอบ หาได้ไม่

มั่วมากๆ เข้า เพื่อนคงไม่คบ เพราะอายแทน

บางคน ถึงขนาดลงทุน สร้างภาพว่าเป็นเด็ก ถูกดำเนินคดี ทั้งๆ ที่ อายุอานามกว่า 30 ปีเศษแล้ว

น่าเวทนา น่ารังเกียจมาก

1. อาจารย์ชูชาติ ศรีแสง อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีการะบุว่า

“เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2563 ได้เขียนกรณีบุตรสาวทั้งสองของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา มอบอำนาจให้ทนายความไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนเพื่อให้ดำเนินคดีแก่ผู้ที่กล่าวหาใส่ความด้วยความเท็จทำให้ได้รับความเสียหาย

ได้คาดหมายไว้ล่วงหน้าว่า กรณีนี้จะมีกลุ่มบุคคลที่ถูกแจ้งความให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีและพวกพ้อง โดยเฉพาะนักการเมืองบางคน พรรคการเมืองบางพรรค รวมทั้งบุคคลที่อ้างว่าเป็นนักวิชาการทั้งหลาย จะต้องออกมาเคลื่อนไหวรุมประณามว่า “รัฐบาลนี้คุกคามประชาชน”

ทั้งๆ ผู้เสียหายทั้งสองเป็นฝ่ายที่ถูกคุกคามโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย การไปแจ้งความให้ดำเนินคดีแก่ผู้ละเมิดสิทธิของตนเองคือการใช้สิทธิโดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและรัฐธรรมนูญ

สิ่งที่กล่าวไว้ในวันนั้นเริ่มปรากฏออกมาแล้ว และคอยดูต่อไปจะทยอยออกมาเรื่อยๆ...”

ขณะนี้ คนที่กระทำการใส่ร้ายป้ายสีลูกสาวนายกฯ หลายคนได้พยายามบิดเบือนด้วยวิธีการแบบ “หน้าไม่อาย” โดยที่สื่อในขบวนการเดียวกันก็แกล้งเซ่อหรือแกล้งโง่ หลับหูหลับตาตะแบงอุ้มกันไปอย่างไร้เกียรติไร้ศักดิ์ศรี

2. อาจารย์ชูชาติ ยังได้อธิบายขั้นตอนกระบวนการกฎกมายเอาไว้อย่างละเอียดด้วยว่า

“.....กรณีบุตรสาวทั้งสองของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา มอบอำนาจให้ทนายความไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีแก่ผู้ที่นำความเท็จมากล่าวใส่ความทำให้ได้รับความเสียหายซึ่งมีความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญา และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นั้น

พนักงานสอบสวนเริ่มมีหมายเรียกบุคคลผู้เข้าข่ายกระทำความผิดไปพบพนักงานสอบสวนแล้ว

มีผู้ออกมาขอความช่วยเหลือบุคคลที่ถูกหมายเรียกแล้ว ทั้งขอคำแนะนำการสู้คดีและความช่วยเหลือทางการเงินโดยการบอกหมายเลขบัญชีให้มีการโอนเงินให้

ขอบอกว่าหลังจากนี้สิ่งที่ต้องประสบคือ

1.ต้องไปพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียก ถ้าไม่ไปพนักงานสอบสวนก็ไปขอศาลให้ออกหมายจับได้ หากศาลอนุญาตให้ออกหมายจับและถูกจับตามหมายจับ พนักงานสอบสวนจะนำตัวไปฝากขังต่อศาล เมื่อศาลอนุญาตก็ต้องขอประกันตัว มิฉะนั้นก็ต้องส่งตัวไปคุมขังในเรือนจำระหว่างสอบสวน

2.เมื่อพนักงานสอบสวนเสร็จหากพยานหลักฐานฟังได้ว่ามีการกระทำความผิดจริงก็มีคำสั่งฟ้องและส่งสำนวนไปยังพนักงานอัยการพิจารณา ถ้าพนักงานอัยการเห็นด้วยก็สั่งฟ้องและนำตัวไปฟ้องต่อศาล

3.เมื่อศาลสั่งประทับฟ้องแล้ว ก็ต้องขอประกันตัวระหว่างพิจารณาคดี และศาลจะนัดสอบคำให้การจำเลย ถ้าจำเลยให้การรับสารภาพศาลก็จะมีคำพิพากษา แต่ถ้าจำเลยให้การปฏิเสธ ก็จะนัดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลย เสร็จแล้วก็จะมีคำพิพากษาลงโทษหรือยกฟ้อง

ถ้านับตั้งแต่วันที่ไปพบพนักสอบสวนตามหมายเรียกหรือถูกจับตามหมายจับจนถึงวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาก็จะใช้เวลาอย่างน้อยประมาณ 1 ปี ในช่วงเวลานี้ต้องใช้หลักทรัพย์หรือเงินในการขอประกันตัว ต้องเสียเงินจ้างทนายความเพื่อช่วยเหลือในการสู้คดีในศาล ต้องไปศาลตามวันนัด และต้องเสียเวลาที่เคยมีชีวิตอย่างสงบสุขไปกับการวุ่นวายในต่อสู้คดี

ประการสำคัญที่สุดคือผู้ถูกดำเนินคดีอาญาทุกคนต้องประสบคือความทุกข์ทรมานทางใจที่เกรงว่าศาลจะพิพากษาลงโทษจำคุก ยกเว้นบุคคลที่เคยถูกลงโทษจำคุกมาแล้วหลายครั้งจนเคยชินแล้ว

คดีนี้ผู้ที่นำข้อความอันเป็นเท็จกล่าวหาผู้เสียหายทั้งสองคน มีโอกาสรอดยากเพราะผู้เสียหายทั้งสองไม่ได้เป็นข้าราชการหรือนักการเมืองหรือเป็นบุคคลสาธารณะ จึงไม่อาจนำประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 และ มาตรา 330 มาอ้างได้

นี่คือบทเรียนที่สอนให้รู้ว่า อย่าตกเป็นเครื่องมือของคนอื่น ก่อนลงมือทำอะไรต้องคิดให้รอบคอบว่าทำไปเพื่ออะไร ใครจะได้หรือเสียประโยชน์

เมื่อถูกดำเนินคดีจะมีใครให้ความช่วยเหลือบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุกถูกนำตัวเข้าไปคุมขังอยู่ในเรือนจำจะได้รับความทุกข์ยากลำบากเพียงใดและไม่มีใครสามารถมารับโทษจำคุกแทนได้”

3. กรณีจำพวกแสดงความคิดเห็นใส่ร้ายคนอื่นโดยปราศจากมูลความจริง

อาจจะด้วย ทำตามๆ คนอื่น

หรือหวังจะได้รับประโยชน์ตอบแทนบางอย่างกลับคืนมาจากคนบางกลุ่ม

หรือหลงเชื่อนักการเมืองที่สร้างภาพว่าเป็นคนรุ่นใหม่

หลงเชื่อนักวิชาการจำพวกที่ชอบโจมตีสถาบันพระมหากษัตริย์จากต่างประเทศ (หนีคดีอยู่) ฯลฯ

ถึงเวลาถูกดำเนินคดี ปรากฏว่า คนพวกนั้นไม่เคยช่วยเหลืออะไรได้เลย เพราะเอาความเท็จมาใส่ร้ายคนอื่น

ยืมมือเด็ก นักศึกษา หรือคนที่หลงเชื่อตนเองกระทำการแทน

ส่วนตนเอง ก็คอยออกมาแสร้งให้กำลังใจ ยุให้ต่อสู้คดี หรือให้สัมภาษณ์สื่อปลุกระดมต่อ หาเหยื่อรายต่อๆไป

คนที่ต้องรับกรรม คือ คนที่โพสต์ข้อความแสดงความคิดเห็นผิดๆ นั่นเอง

4. แม้แต่รุ่นใหญ่ อย่าง “ฮาร์ท” สุทธิพงศ์ ทัดพิทักษ์กุล ก็ยังพลาด

ยังดี ที่รู้จักขอโทษ ขออภัย และยอมรับความผิดของตนเอง

ถือเป็นบทเรียนกรณีศึกษา

ว่าการใช้โซเชียลโดยขาดสติยั้งคิดนั้น บทเรียนราคาแพงขนาดไหน

นายฮาร์ท ได้เดินทางเข้ากราบขอโทษคุณนริศโรจน์ เฟื่องระบิล อดีตเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา สืบเนื่องจากการเข้าไปโพสต์ข้อความดูหมิ่นกล่าวหาในเพจนายปวิน ผสมโรงไปกับคนอื่นๆ (นายปวินหนีคดีอยู่ต่างประเทศไม่รับผิดชอบอะไรเลย) จนกลายเป็นประเด็นร้อนแรงก่อนหน้านี้

นายฮาร์ทโพสต์ดูหมิ่นว่า “ทูตแบบนี้ ศัพท์อย่างไม่เป็นทางการเรียก ทูตติ่ม(ทิ่มตูด สำหรับคนผวนไม่เป็น)”

ขณะที่ความจริงนั้น คุณนริศโรจน์ เฟื่องระบิล มิได้มีพฤติกรรมแบบที่นายปวินใส่ร้าย และนายฮาร์ทเข้าไปผสมโรง โดยท่านอดีตทูตได้แสดงพยานหลักฐาน ยืนยันชัดเจน ขณะที่ฝ่ายกล่าวหา ไร้หลักฐานใดๆ มีแต่คำด่าคำหมิ่นแคลน และคำบอกเล่าที่ไร้การยืนยันใดๆ

บางตอนในคำชี้แจงของอดีตทูต เช่น

“...ขอชี้แจงเรื่องตอนที่ผมเป็นทูตที่อาร์เจนตินา ตามที่ปวินกล่าวหา

ผมมีผู้ติดตามไปด้วย 2 คน ชื่อ โต กับ ปาล์ม ซึ่งเป็นสิทธิ์ตามกฎหมายของคนที่ไปเป็นทูตทุกคน โดยทั้ง 2 คนทำหน้าที่ พ่อครัว และผู้ช่วยทำงานในทำเนียบทูต ซึ่งนอกจากต้องทำหน้าที่ทุกอย่างในสถานทูต ตั้งแต่ทำครัว เสิร์ฟ รวมทั้งดูแลด้านระบบ IT ของสถานทูตด้วย ซึ่งทุกคนมี term of reference ว่ามีหน้าที่ทำอะไร และทุกคนต้องทำงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย สมตามเงินเดือนที่เป็นภาษีของประชาชนทุกประการ ซึ่งเรื่องนี้คนที่เคยไปอาร์เจนตินาและพักที่สถานทูตคงทราบและยืนยันได้ว่า ผู้ติดตามผม 2 คนนั้น มิได้ไปอยู่เฉยๆ

มีครั้งนึงที่ผมต้องเปิดบ้านให้คณะทีมวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยที่ไปแข่งที่อาร์เจนตินามานอนที่ทำเนียบทั้งนักกีฬา โค้ช จนท.ประจำทีม ผมก็ได้ โต กับ ปาล์มทั้งสองคนเนี่ยแหละที่ต้องทำงานหนัก ดูแลคณะทั้งหมด เพราะลำพังผมคนเดียวคงทำไม่ได้

ถึงขนาดที่พี่ดำรง พุฒตาล ซึ่งไปพักอยู่กับผมในช่วงนั้นที่อาร์เจนตินา ได้เคยเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับผู้ติดตามของผมลงในหนังสือคู่สร้างคู่สมมาแล้ว โดยพี่ดำรงมองเห็นว่ากรณีของผู้ติดตามผมจะได้เป็นกรณีศึกษาให้กับคนรุ่นใหม่ที่ต้องการได้เห็นโลกกว้าง หลักฐานมีปรากฏยังหาอ่านกันได้

...ส่วนหลักฐานมูลค่าทางการค้าระหว่างไทยและอาร์เจนตินาช่วงที่ผมเป็นทูตถึงแม้ว่าอาจไม่มากเท่าประเทศอื่น แต่ที่แน่ๆ คือ ไทยเป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่ได้ดุลการค้ากับอาร์เจนตินาตลอดระยะเวลาที่ผมอยู่ที่นั่น และมีจำนวนนักท่องเที่ยวมาไทยเพิ่มสูงขึ้นทุกปี

ผมไม่อาจที่จะเปลี่ยนแปลงการนินทา หรือ การใส่ร้ายของใครได้ แต่สิ่งที่ผมทำผมรู้อยู่ในใจว่าผมทำอะไร และไม่เคยเอาเปรียบแผ่นดินแน่นอน...”

จะเห็นได้ว่า ฝ่ายคนโจมตีใส่ร้าย ไม่ต้องแสดงหลักฐานอะไรเลย แต่ฝ่ายผู้เสียหาย มีพยานหลักฐานพร้อมอ้างอิง

ในที่สุด นายฮาร์ทก็เข้าพบ ขออภัย อ้างว่า ตนเองรู้สึกสำนึกผิด ตอนทำนั้นด้วยความคึกคะนอง ไม่ได้คิด

กรณีนี้ ท่านอดีตทูตยังเมตตา ไม่ติดใจดำเนินคดีต่อไป มิฉะนั้น เสี่ยงคุกเสี่ยงตะราง เสี่ยเสียทรัพย์สินเงินทอง เสียเวลา เสียประวัติไปตลอดชีวิต

ถือเป็นอุทาหรณ์สำหรับอีกหลายๆ คน

สารส้ม

Let's block ads! (Why?)



"พอ" - Google News
September 11, 2020 at 02:00AM
https://ift.tt/3bKzGo2

คอลัมน์การเมือง - ดูหมิ่น ใส่ร้ายป้ายสีผู้อื่น พอถูกดำเนินคดี กลับมั่วว่าถูกคุกคาม - หนังสือพิมพ์แนวหน้า
"พอ" - Google News
https://ift.tt/2AxnV60

No comments:

Post a Comment