Pages

Saturday, June 20, 2020

สกพอ.ลดเป้าผลิตบุคลากร 30% 'โควิด' ฉุดความต้องการแรงงาน - กรุงเทพธุรกิจ

tasisuper.blogspot.com

21 มิถุนายน 2563

52

การระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและการตัดสินใจลงทุนของภาคธุรกิจ ซึ่งการผลักดัน EEC ต้องปรับแผนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ รวมถึงการผลิตบุคลากร

นายอภิชาต ทองอยู่ ประธานคณะทำงานศูนย์ประสานการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC-HDC) ภายใต้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เปิดเผยว่า สถานการณ์โควิด-19 กระทบภาคธุรกิจในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) มากน้อยต่างกัน

ดังนั้น EEC-HDC จึงต้องนำข้อมูลล่าสุดจากผลกระทบโควิด-19 มาปรับเป้าหมายการผลิตบุคลากรเพื่อป้อนให้ภาคธุรกิจในอีอีซี

ก่อนเกิดโควิด-19 ได้ประเมินใน 5 ปี ข้างหน้า อีอีซีต้องการบุคลากรเพิ่มในกลุ่มอุตสาหกรรม S-curve และกลุ่มการขนส่งทางราง การขนส่งทางเรือ และโลจิสติกส์ 4.75 แสนตำแหน่ง แต่หลังเกิดโควิด-19 ประเมินเบื้องต้นคาดว่าจะปรับลดลง 30% เหลือ 3 แสนตำแหน่งเศษ 

อุตสาหกรรมที่ลดลงมากที่สุด คือ อุตสาหกรรมการบิน จากเดิมคาดว่าต้องการ 32,836 ตำแหน่ง คาดว่าจะลดลง 70% ภายใน 3-4 ปี จากนั้นจะทยอยฟื้นตัว ทำให้อีก 5 ปี ข้างหน้าจะลดลงจากเป้าหมายที่วางไว้ 50% เหลือ 1.5 หมื่นคน

โดยธุรกิจสายการบินจะลดลง 20-30% ศูนย์ซ่อมอากาศยานจะลดลงกว่า 50% การขนส่งสินค้าทางอากาศจะลดลง 50% เพราะโควิด-19 คลี่คลาย แต่เครื่องบินจะรับผู้โดยสารได้ลดเหลือ 60-70% ของความจุผู้โดยสาร เพราะต้องเว้นระยะห่างป้องกันการระบาด ทำให้มีผู้ใช้เครื่องบินลดลงและราคาตั๋วสูงขึ้น 30-40%

“จากการประเมินคาดว่าอุตสาหกรรมการบินจะใช้เวลากว่า 3-4 ปี จึงฟื้นตัว ทำให้ต้องปรับแผนการผลิตกำลังคนขึ้นมารองรับทั้งหมด" 

ส่วนสายการบินอื่นอาจต้องทยอยล้มละลายและเข้าแผนฟื้นฟูอีกหลายราย โดยการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการบินขึ้นกับการค้นพบวัคซีนรักษาโรคโควิด-19 หากคนพบได้ภายในต้นปี 2564 อุตสาหกรรมการบินจะใช้เวลา 2 ปี ในการฟื้นฟู แต่ถ้าใช้เวลาผลิตวัคซีนนานกว่านี้ก็ยิ่งทำให้อุตสาหกรรมการบินใช้เวลาฟื้นตัวนานขึ้น

159222469582

อุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต ปรับเป้าหมายการผลิตบุคลากรลง จากเดิมคาดว่าใน 5 ปี จะต้องการบุคลากรเพิ่ม 53,738 คน จะลดลง 15% เหลือ 4.56 หมื่นคน 

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ จากประมาณการเดิมคาดว่าต้องการบุคลากรเพิ่ม 58,229 คน จะลดลง 15-20% เหลือ 4.95 – 4.65 หมื่นคน เพราะตลาดโลกต้องการยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ลดลงจากภาวะเศรษฐกิจ 

อุตสาหกรรมดิจิทัล เดิมคาดว่าจะต้องการบุคลากร 116,222 คน จะปรับลดลงประมาณ 10% เหลือ 1.04 แสนคน

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ในอีก 5 ปี ยังคงเป้าหมายความต้องการบุคลากรเพิ่ม 16,920 คน ตามเดิม เพราะมั่นใจว่าหลังจากผลิตวัคซีนรักษาโรคโควิด-19 ได้การท่องเที่ยวจะเหมือนเดิม โดยเฉพาะการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้สูงและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ จะได้รับผลบวกจากการที่ไทยรับมือโควิด-19 ได้ดี ทำให้ชื่อเสียงด้านโรงพยาบาลและสาธารณสุขของไทยเป็นที่เชื่อถือในสายตาชาวโลก 

อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร คงเป้าหมายเดิมที่ 11,412 คน และอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ คาดว่าความต้องการบุคลากรจะเท่าเดิมที่ 37,526 คน เพราะผลจากโควิด-19 จะทำให้ทุกธุรกิจ มีความต้องการใช้หุ่นยนต์เพิ่มขึ้น เพื่อรักษาระยะห่างระหว่างบุคคล และใช้ในโรงงานเพิ่มขึ้น เพื่อลดการพึ่งพาแรงงานและผลกระทบจากโรคระบาดอื่นๆที่จะมีในอนาคต

“แม้ว่าช่วงโควิด-19 อุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้รับผลกระทบรุนแรง บุคบลากรในธุรกิจนี้จะตกงาน 90% แต่เชื่อว่าหลังผลิตวัคซีนโควิด-19 การท่องเที่ยวจะดีขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มท่องเที่ยวรายได้สูง และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพน่าจะได้รับผลกระทบเชิงบวก”

อุตสาหกรรมระบบราง ยังคงเป้าหมายการผลิตบุคลากรไว้ที่ 24,246 คน เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่รัฐบาลสนับสนุน และจะขยายตัวตามเป้าหมายการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน

อุตสาหกรรมพาณิชย์นาวี จากเดิมตั้งไว้ 14,630 คน คาดว่าลดลง 10-15% เหลือ 1.31–1.24 หมื่นคน เพราะเศรษฐกิจโลกต้องใช้เวลาฟื้นตัว ทำให้กระทบการขนส่งทางเรือบางส่วน

ธุรกิจโลจิสติกส์ คาดว่าไม่ได้รับผลกระทบ มีความต้องการบุคลากร 109,910 คน เพราะหลังโควิด-19 การขนส่งธุรกิจอีคอมเมิร์ซจะสูงขึ้น ทำให้คงประมาณการณ์เดิม

นอกจากนี้ EEC-HDC ได้ปรับเผยในการผลิตบุคลากร ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ระบบ ได้แก่ 

1.การผลิตบุคลากรในระบบการศึกษาเดิม ตั้งแต่ระดับ ปวช. , ปวส.และปริญญาตรีขึ้นไป คงเป้าหมายเดิมที่ใน 3 ปี (2562-2564) ผลิตบุคลากร 4.4 หมื่นคน

2.การผลิตบุคลากรในระบบหลักสูตรระยะสั้น ซึ่งได้ปรับเพิ่มเป้าหมายเพื่อผลิตบุคลากรได้อย่างรวดเร็ว รองรับการลงทุนใหม่ๆที่จะเข้ามาหลังโควิด-19 โดยในปี 2562 ผลิตได้ 1 หมื่นคน ในปี 2563 ได้ปรับเป้าหมายจากเดิมที่จะผลิตได้ 1 หมื่นคน เพิ่มเป็น 2 หมื่นคน และในปี 2564 ปรับเพิ่มเป้าหมายจากเดิม 2 หมื่นคน เพิ่มเป็น 3.8 หมื่นคน

ทั้งนี้ ยังได้ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจในอีอีซี ตั้ง EEC Industrial Forum ซึ่งประกอบด้วยผู้ประกอบการโรงงานและธุรกิจอื่นในอีอีซี 5 พันกิจการ สถาบันการศึกษาอาชีวะทั้งรัฐและเอกชน 17 แห่ง และมหาวิทยาลัยในอีอีซี 8 แห่ง เข้าร่วม 

EEC-HDC จะเป็นผู้ประสานงาน โดยช่วงเริ่มต้นมี สมชัย ไทยสงวนวรกุล ผู้บริหารบริษัทเอส เอ็น ซี ฟอร์เมอร์ จำกัด (มหาชน) เป็นประธาน EEC Industrial Forum โดยให้ภาคเอกชนเป็นผู้นำกำหนดหลักสูตรการศึกษาทั้งในระบบ และหลักสูตรระยะสั้นให้ตรงต่อความต้องการของผู้ประกอบการทุกด้าน

“โควิด-19 ทำให้ทบทวนแผนการผลิตบุคลากร และปรับตัวรองรับเทคโนโลยีใหม่ได้ดีขึ้น และเป็นแรงผลักดันให้อุตสาหกรรมไทยเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ได้เร็วขึ้น และจากการรับมือโควิด-19 ได้ดียิ่งส่งผลบวกต่อการลงทุนไทยมากขึ้น”

Let's block ads! (Why?)



"พอ" - Google News
June 21, 2020 at 09:32AM
https://ift.tt/37KoQwr

สกพอ.ลดเป้าผลิตบุคลากร 30% 'โควิด' ฉุดความต้องการแรงงาน - กรุงเทพธุรกิจ
"พอ" - Google News
https://ift.tt/2AxnV60

No comments:

Post a Comment